ไวรัส RSV โรคสุดฮิตในหน้าฝน
เป็นเนื้อหาของบทความหรือสินค้าโดยละเอียด
โรคไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus)
โรคติดเชื้อเด็กสุดฮิตหน้าฝน
#RSV #utaisuk
เดือนสิงหานี้ เป็นช่วงเวลาที่ชุ่มฉ่ำมาก เราต้องเผชิญกับภาวะฝนตกเกือบทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็กที่ถูกฝนเปียกชื้นบ่อยๆ แล้วถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีก็อาจจะเจ็บป่วยไม่สบายได้อย่างง่ายๆ ซึ่งโรคที่พบมากในเด็กในช่วงหน้าฝนก็มีมากมาย เช่นไข้หวัดใหญ่ มือเท้าปาก โรคไข้เลือดออก อีสุกอีใส และอีกหนึ่งโรคที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งคือไวรัส RSV เรามาทำความรู้จักกับเชื้อไวรัสนี้หน่อยดีกว่าค่ะ มองเผินๆ คุณอาจคิดว่าลูกเป็นหวัดธรรมดา แต่ถ้าไม่สังเกตอาการ และปล่อยไว้นานอาจจะกลายเป็นโรคร้ายที่อันตรายต่อ ชีวิตเด็กๆ ได้ค่ะ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ มีโอกาสที่จะเกิดซ้ำอีกได้ถ้าน้องๆ ร่างกายอ่อนแอ ซึ่งจะกระตุ้นอาการหอบจนทำให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในที่สุดก้อได้น้า...
โรคติดเชื้อเด็กสุดฮิตหน้าฝน
#RSV #utaisuk
เดือนสิงหานี้ เป็นช่วงเวลาที่ชุ่มฉ่ำมาก เราต้องเผชิญกับภาวะฝนตกเกือบทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็กที่ถูกฝนเปียกชื้นบ่อยๆ แล้วถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีก็อาจจะเจ็บป่วยไม่สบายได้อย่างง่ายๆ ซึ่งโรคที่พบมากในเด็กในช่วงหน้าฝนก็มีมากมาย เช่นไข้หวัดใหญ่ มือเท้าปาก โรคไข้เลือดออก อีสุกอีใส และอีกหนึ่งโรคที่คุณพ่อคุณแม่ควรต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งคือไวรัส RSV เรามาทำความรู้จักกับเชื้อไวรัสนี้หน่อยดีกว่าค่ะ มองเผินๆ คุณอาจคิดว่าลูกเป็นหวัดธรรมดา แต่ถ้าไม่สังเกตอาการ และปล่อยไว้นานอาจจะกลายเป็นโรคร้ายที่อันตรายต่อ ชีวิตเด็กๆ ได้ค่ะ ที่น่ากลัวกว่านั้นคือ มีโอกาสที่จะเกิดซ้ำอีกได้ถ้าน้องๆ ร่างกายอ่อนแอ ซึ่งจะกระตุ้นอาการหอบจนทำให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังในที่สุดก้อได้น้า...

อาการติดเชื้อไวรัส ตัวนี้ รูปมาจาก http://www.pharmaceutical-networking.com/astra-zeneca-medi-557-for-treatment-of-respiratory-syncytial-virus-rsv/
#ไวรัส RSV คืออะไร
RSV เป็นเชื้อไวรัสที่รู้จักกันมานานแล้วในวงการแพทย์ จริงๆ แล้วไวรัส RSV พบครั้งแรกตั้งแต่ปี 1955 (พ.ศ. 2498) ซึ่งมีการตรวจพบในลิงชิมแปนซีที่เกิดอาการป่วยจากหวัด ต่อมาไม่นานก็พบว่าสามารถติดต่อได้ในมนุษย์ และเป็นสาเหตุของอาการหรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
RSV ย่อมาจาก Respiratory Syncytial Virus (RSV) เป็นไวรัสที่พบมากและเจริญเติบโตได้ดีในช่วงที่มีอากาศชื้นโดยเฉพาะหน้าฝน สามารถติดต่อกันได้ง่ายๆ เพียงการสัมผัสใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางตาหรือจมูก และทางลมหายใจ ดังนั้นในเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นหวัดจึงเสี่ยงต่อการรับและแพร่กระจายเชื้อไวรัสตัวนี้มาก และเด็กเล็กสามารถได้รับเชื้อไวรัสได้ตั้งแต่แรกเกิดกันเลยทีเดียว โดยเชื้อไวรัสนี้จะมีระยะฟักตัวประมาร 2-6วัน
#ถ้าได้รับไวรัสRSVแล้วจะแสดงอาการอย่างไร
RSV ก่อโรคในทางเดินหายใจ แบ่งอาการเป็น 3 กลุ่มคือ
1.ทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบ ทำให้มีอาการคล้ายหวัด มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล คออักเสบ
2.ทางเดินหายใจส่วนล่าง อักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ ซึ่งมักเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ในบางรายมีอาการรุนแรง ไข้สูง หอบเหนื่อย ซึ่งมีสาเหตุจากไวรัสตัวนี้ 40-90%รวมไปถึงปอดบวมซึ่งอาการรุนแรวมาในเด็กอายุน้อยกว่า 1ปี
3.กลุ่มอาการตายเฉียบพลันในทารก (Sudden infant death syndrome,SIDS) พบการเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุแต่สงสัยว่าไวรัส RSVอาจมีส่วนร่วมด้วย
#อาการของเด็กที่ติดเชื้อไวรัส RSV จะต่างจากการเป็นหวัดธรรมดาอย่างไร
เด็กที่เป็นหวัดธรรมดาจะมีอาการเป็นแบบหวัด คือ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล กินน้ำ-นมได้ อาจกล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอแบบมีเสมหะร่วมด้วยซึ่งจะหายได้ใน5-7วัน
แต่อาการที่เกิดจากไวรัส RSV คือ อาการหอบ เหนื่อย บางคนหอบมากจนเป็นโรคปอดบวม หายใจหอบจนอกบุ๋ม หายใจแรงจนหน้าอกโป่ง หายใจออกลำบาก หรือหายใจมีเสียงวี้ดแบบหลอดลมฝอยอักเสบ บางรายไอมากจนอาเจียน ซึม ตัวเขียว กินข้าว น้ำ นมไม่ได้ทางที่ดีถ้าเด็กมีไข้ 3วันควรรีบพาไปพบแพทย์
#rsvรักษาอย่างไร
ไวรัส RSV #ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน รวมถึงไม่มียารักษาโดยเฉพาะ
ดังนั้นเมื่อเด็กได้รับไวรัสนี้จึงต้องรักษาตามอาการ ทานยาลดไข้ตามอาการทุก4-6ชั่วโมงพร้อมกับเช็ดตัวลดไข้ นอนพักผ่อนเยอะๆร่างกายก็จะฟื้นตัวช้าใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์จึงจะหาย แต่หลังจากหายแล้วหลอดลมและถุงลมฝอยของเด็กจะมีอาการอักเสบได้ง่ายเมื่อติดเชื้อครั้งใหม่ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเป็นพิเศษทั้งเรื่องอาหารและการออกกำลังกายในช่วงอากาศเปลี่บนแปลง
#rsvแนวทางการปัองกัน
RSV เป็นเชื้อไวรัสที่รู้จักกันมานานแล้วในวงการแพทย์ จริงๆ แล้วไวรัส RSV พบครั้งแรกตั้งแต่ปี 1955 (พ.ศ. 2498) ซึ่งมีการตรวจพบในลิงชิมแปนซีที่เกิดอาการป่วยจากหวัด ต่อมาไม่นานก็พบว่าสามารถติดต่อได้ในมนุษย์ และเป็นสาเหตุของอาการหรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
RSV ย่อมาจาก Respiratory Syncytial Virus (RSV) เป็นไวรัสที่พบมากและเจริญเติบโตได้ดีในช่วงที่มีอากาศชื้นโดยเฉพาะหน้าฝน สามารถติดต่อกันได้ง่ายๆ เพียงการสัมผัสใกล้ชิด หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทางตาหรือจมูก และทางลมหายใจ ดังนั้นในเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นหวัดจึงเสี่ยงต่อการรับและแพร่กระจายเชื้อไวรัสตัวนี้มาก และเด็กเล็กสามารถได้รับเชื้อไวรัสได้ตั้งแต่แรกเกิดกันเลยทีเดียว โดยเชื้อไวรัสนี้จะมีระยะฟักตัวประมาร 2-6วัน
#ถ้าได้รับไวรัสRSVแล้วจะแสดงอาการอย่างไร
RSV ก่อโรคในทางเดินหายใจ แบ่งอาการเป็น 3 กลุ่มคือ
1.ทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบ ทำให้มีอาการคล้ายหวัด มีไข้ ไอ น้ำมูกไหล คออักเสบ
2.ทางเดินหายใจส่วนล่าง อักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ ซึ่งมักเป็นในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ในบางรายมีอาการรุนแรง ไข้สูง หอบเหนื่อย ซึ่งมีสาเหตุจากไวรัสตัวนี้ 40-90%รวมไปถึงปอดบวมซึ่งอาการรุนแรวมาในเด็กอายุน้อยกว่า 1ปี
3.กลุ่มอาการตายเฉียบพลันในทารก (Sudden infant death syndrome,SIDS) พบการเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุแต่สงสัยว่าไวรัส RSVอาจมีส่วนร่วมด้วย
#อาการของเด็กที่ติดเชื้อไวรัส RSV จะต่างจากการเป็นหวัดธรรมดาอย่างไร
เด็กที่เป็นหวัดธรรมดาจะมีอาการเป็นแบบหวัด คือ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล กินน้ำ-นมได้ อาจกล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอแบบมีเสมหะร่วมด้วยซึ่งจะหายได้ใน5-7วัน
แต่อาการที่เกิดจากไวรัส RSV คือ อาการหอบ เหนื่อย บางคนหอบมากจนเป็นโรคปอดบวม หายใจหอบจนอกบุ๋ม หายใจแรงจนหน้าอกโป่ง หายใจออกลำบาก หรือหายใจมีเสียงวี้ดแบบหลอดลมฝอยอักเสบ บางรายไอมากจนอาเจียน ซึม ตัวเขียว กินข้าว น้ำ นมไม่ได้ทางที่ดีถ้าเด็กมีไข้ 3วันควรรีบพาไปพบแพทย์
#rsvรักษาอย่างไร
ไวรัส RSV #ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน รวมถึงไม่มียารักษาโดยเฉพาะ
ดังนั้นเมื่อเด็กได้รับไวรัสนี้จึงต้องรักษาตามอาการ ทานยาลดไข้ตามอาการทุก4-6ชั่วโมงพร้อมกับเช็ดตัวลดไข้ นอนพักผ่อนเยอะๆร่างกายก็จะฟื้นตัวช้าใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์จึงจะหาย แต่หลังจากหายแล้วหลอดลมและถุงลมฝอยของเด็กจะมีอาการอักเสบได้ง่ายเมื่อติดเชื้อครั้งใหม่ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเป็นพิเศษทั้งเรื่องอาหารและการออกกำลังกายในช่วงอากาศเปลี่บนแปลง
#rsvแนวทางการปัองกัน
วิธีป้องกันคือการรักษาความสะอาด คนที่ใกล้ชิดเด็กเล็กควรล้างมือบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคนป่วย
1. ล้างมือให้เด็กบ่อยๆรวมถึงคนรอบข้างด้วยก็จำเป็นต้องล้างมือบ่อยๆเช่นกัน
2. เมื่อมีเด็กป่วย หากเป็นไปได้ให้ผู้ปกครองรับกลับบ้าน แต่หากไม่สามารถรับกลับบ้านได้ ให้แยกเด็กและแยกเครื่องใช้ของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโร
สาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย
blog เภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล ที่มียอดผู้อ่านมากกว่า 3 ล้านวิว
Permalink : http://www.oknation.net/blog/DIVING
Permalink : http://www.oknation.net/blog/DIVING